สาขาดนตรีและศิลปะการแสดง วิชาเอกเลือกปฏิบัติดนตรีและเทคโนโลยีดนตรี ระดับปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาดนตรีและศิลปะการแสดง ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts in Music and Performing Arts
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ดนตรีและศิลปะการแสดง) ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts in Music and Performing Arts อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : ศป.บ.(ดนตรีและศิลปะการแสดง) อักษรย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) : B.F.A. (Music and Performing Arts)
กลุ่มวิชาดนตรี
แขนงวิชาเอกเลือกปฏิบัติดนตรีและเทคโนโลยีดนตรี เลือกเครื่องดนตรีหนึ่งชนิด (Music Performance and Music Technology)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต
แบ่งออกเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 33 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะสาขา 96 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
จุดมุ่งหมาย
เรามุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้และความเข้าใจในวิชาชีพทางดนตรีอย่างแท้จริง โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง และร่วมกิจกรรมของวงการศิลปินทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เพื่อให้เกิดความชำนาญในศาสตร์ต่างๆ และมีความพร้อมที่จะเข้าสู่วงการธุรกิจบันเทิง ธุรกิจดนตรีได้ทันทีหลังจบการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถรอบด้าน เพื่อพร้อมที่จะก้าวไปเป็นศิลปินนักร้อง และนักดนตรีที่มีคุณภาพและสามารถบริหารจัดการอาชีพของตนเองได้ โดยผู้เรียนจะได้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะการขับร้องหรือการเล่นเครื่องดนตรี และมีการแสดงทั้งรูปแบบร้องเพลงเดี่ยวและแสดงเป็นวงทุกเทอม เรียนรู้การออกแบบภาพลักษณ์ศิลปินและการประพฤติตนให้เหมาะสมเพื่อให้ประสบความสำเร็จในวงการ การแต่งเพลงและผลิตผลงานเพลงด้วยยตนเอง การเข้าใจธุรกิจวงการเพลงและกฎหมายลิขสิทธ์ต่างๆ การทำสัญญาของค่ายเพลงแบบต่างๆ การทำการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานของตนเองผ่านสื่อต่างๆ ไป จนถึงการบริหารจัดการการจัด คอนเสิร์ต และจัดจำหน่ายผลงานเพลงทั้งแบบแผ่นและแบบดิจิตอล นอกจากนี้นักศึกษาจะได้เตรียมตนเองให้พร้อมรับกับสังคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีเรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐกิจนานาชาติ เรียนภาษาอังกฤษ และเลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่สอง เช่น ภาษาเกาหลี ญี่ปุ่น จีน มาเลเชีย พม่า อินโดนีเซี ย และฝึกงานกับองค์กรในวงการบันเทิงในปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ศิลปินนักดนตรี ศิลปินนักร้อง โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับการแสดงดนตรี นักแสดง นักประพันธ์ดนตรี นักเรียบเรียงเสียงประสานดนตรี ผู้ควบคุมห้องบันทึกเสียง ผู้ควบคุมการผสมเสียง ผู้ควบคุมการมาสเตอร์ริง ผู้ผลิตสื่อทางดนตรี ครูสอนดนตรี และอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น นักธุรกิจในวงการบันเทิง นักการตลาดในวงการธุรกิจบันเทิง ผู้จัดการด้านการแสดงและดนตรี ผู้จัดสถานศึกษาด้านดนตรีและการแสดงและนักวิชาการ
ตัวอย่างรายชื่อวิชาบางส่วน
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี ระดับปริญญาตรี 4 ปี
- ประวัติศาสตร์ศิลปะการแสดง (History of Performing Arts)
- ประวัติดนตรี 1 – 2 (Music History 1 – 2)
- ธุรกิจบันเทิง (Entertainment Industry Studies)
- ธุรกิจดนตรี นานาชาติ (International Music Industry Studies)
- กฎหมายธุรกิจบันเทิง (Entertainment Business Law)
- สัมมนาวงการบันเทิง (Entertainment Seminar)
- พื้นฐานการทำวิจัยดนตรี (Introduction to Music Research)
- จรรยาบรรณ ทัศนคติ และภาพลักษณ์ของศิลปิน (Artists’ Ethics, Attitude, and Image)
- โครงงานศิลปิน (Artist Project)
- การแสดงดนตรี ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ท (Online Music Showcase)
- การจัดการการแสดงดนตรี (Concert Management)
- อาเซียนในโลกยุคใหม่ (ASEAN in the Modern World)
- หลักเศรษฐศาสตร์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Principles of Economics and Philosophy of Sufficiency Economy)
- ทฤษฎีดนตรี 1 – 3 (Music Theory 1 – 3)
- การฝึกโสตประสาทและการอ่านโน้ต 1 – 4 (Ear Training & Sight-Reading 1 – 4)
- ทักษะคีย์บอร์ด 1 – 3 (Keyboard Proficiency 1 – 3)
- หลักการประพันธ์ดนตรี (Music Composition)
- การเรียบเรียงดนตรีร่วมสมัย (Contemporary Music Arrangement)
- เทคนิคการบันทึกเสียง (Studio Recording Techniques)
- เทคนิคการผสมเสียง (Mixing Techniques)
- เทคนิคมาสเตอร์ริง (Mastering Techniques)
- การสอนดนตรี 1 – 2 (Music Pedagogy 1 – 2)
- การขับร้องเบื้องต้น (Basic Voice )
- การแสดงเบื้องต้น (Basic Acting)
- การเต้นเบื้องต้น (Basic Dance)
- การปฏิบัติขับร้อง 1 – 7 (Vocal Performance 1 – 7) หรือการปฏิบัติดนตรี 1 – 7 (Music Performance 1 – 7) (เลือกเครื่องดนตรีของตนเอง)
- การปฏิบัติรวมวง 1 – 7 (Ensemble 1 – 7)
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบเข้าศึกษา
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี ระดับปริญญาตรี 4 ปี รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
- สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีได้
- มีความรู้พื้นฐานด้านทฤษฎีดนตรีตะวันตก
- มีโสตทักษะทางด้านดนตรี
- มีความประพฤติดี ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาด้านดนตรี