สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง วิชาเอกเลือกการแสดงเต้น ระดับปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาดนตรีและศิลปะการแสดง ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts in Music and Performing Arts
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ดนตรีและศิลปะการแสดง) ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts in Music and Performing Arts อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : ศป.บ.(ดนตรีและศิลปะการแสดง) อักษรย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) : B.F.A. (Music and Performing Arts)
กลุ่มวิชาศิลปะการแสดง
- แขนงวิชาเอกเลือก การแสดงเต้น (Dance Performance)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 128 หน่วยกิต
แบ่งออกเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 33 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะสาขา 89 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
จุดมุ่งหมาย
มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถด้านศิลปะการแสดงอย่างรอบด้าน และมุ่งเน้นการเต้นประเภทต่าง ๆ เพื่อพร้อมที่จะก้าวไปเป็นบุคลากรในวงการการแสดงเต้น ที่มีคุณภาพและสามารถบริหารจัดการอาชีพตนเอง และสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะการแสดงเต้นให้กับผู้อื่นได้ ผู้เรียนจะได้เรียนเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญในสาขาเต้นที่ตนเลือก โดยผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะการแสดงชนิดต่าง ๆ ในการแสดงหลากหลายรูปแบบ ทั้งการแสดงละครเวทีและละครเพลง ได้เสริมทักษะการร้องเพลง การเต้น เพื่อเติบโตในสายของศิลปินนักร้องที่สามารถเต้น ศิลปินนักแสดง และศิลปินละครเพลงที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถเติบโตในสายของการเป็นครูสอนการเต้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการสร้างอาชีพให้กับตนเองในฐานะศิลปินที่สามารถบริหารจัดการอาชีพตนเองได้ อาทิ การสร้างโครงงานศิลปิน การสัมมนาวงการบันเทิง การเรียนรู้ กฎหมายของธุรกิจบันเทิง การเป็นพิธีกร การพัฒนาและออกแบบภาพลักษณ์ของศิลปินที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองได้ ซึ่งนับเป็นสาขาวิชาแรกของประเทศที่มีการเสริมความรู้และทักษะด้านศิลปะการแสดงอย่างครบวงจรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้สามารถเป็นศิลปินที่มีความสามารถอย่างรอบด้าน รู้เท่าทัน และสร้างอาชีพให้ตนเองได้ อีกทั้งผู้เรียนยังได้เตรียมตนเองให้พร้อมที่จะก้าวเข้าสู้ สังคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยผู้เรียนรู้จะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐกิจนานาชาติ เรียนภาษาอังกฤษ และเลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่สอง อาทิ ภาษาเกาหลี ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย และได้ฝึกงานในวงการบันเทิงในปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษาด้วย
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ศิลปินนักเต้น ศิลปินนักร้องที่มีความสามารถในการเต้น นักแสดงภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ มิวสิควิดีโอโฆษณา งานอีเว้นท์ ละครเวที ละครผ่านสื่ออินเตอร์เน็ท และละครเพลง ครูสอนศิลปะการแสดง ครูสอนเต้น นักออกแบบท่าเต้น นักธุรกิจการแสดง
ตัวอย่างรายชื่อวิชาบางส่วน
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง ระดับปริญญาตรี 4 ปี
- การแสดงเต้น ๑-๒
- เรื่องคัดเฉพาะการแสดงเต้น ๑-๔
- บัลเลต์
- การฝึกสอนการแสดงเต้น ๑-๒
- การกำกับการแสดงเต้นและการออกแบบท่าเต้น
- การขับร้องเบื้องต้น, ระดับกลาง, และระดับสูง
- การแต่งหน้าและเครื่องแต่งกายสําหรับการแสดง
- การพัฒนาบุคลิกภาพและการเดินแบบ
- การแสดงละครเวที
- การแสดงละครเพลง
- ประวัติศาสตร์ศิลปะการแสดง
- ธุรกิจบันเทิง
- กฎหมายธุรกิจบันเทิง
- สัมมนาวงการบันเทิง
- โครงงานศิลปิน
- การสื่อสารการตลาดผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต
- การวิจารณ์งานศิลปะการแสดง
- ทักษะการนําเสนองานธุรกิจบันเทิงและการเจรจาต่อรอง
- การถ่ายภาพและภาพยนตร์ดิจิทัล
- การพูดและการเป็นพิธีกร
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบเข้าศึกษา
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง เอกเลือกการแสดงเต้น ระดับปริญญาตรี 4 ปี รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
- สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือกาลังศึกษาอยู่ ในชั่นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะสําเร็จการศึกษา หรือสําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีความสามารถในการแสดงเต้น
- มีความประพฤติดี ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาด้านศิลปะการแสดง